Translate

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน

           สภาวะสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยม และความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ จนทำให้คนไทยหลงเดินทางผิดไปตามกระแสนิยมจนกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ไม่มีวัน จบสิ้น อย่างไรก็ตามคนไทยยังมีทางออก ซึ่งการจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดภายใต้สังคมในปัจจุบัน แนวทางหนึ่งที่ประชาชนไทยควรยึดถือคือการพึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาท ตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง รู้จักความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ คำนึงถึงหลักเหตุผลและการประมาณตนเอง พร้อมกับทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต
                การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
                บัญชีครัวเรือน มิได้หมายถึง การทำบัญชีหรือบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันเท่านั้น แต่อาจหมายถึงการบันทึกข้อมูลด้านอื่น ๆ ในชีวิต ในครอบครัว เป็นต้น ของเราได้ด้วย เช่น บัญชีทรัพย์สิน พันธุ์พืช พันธุ์ไม้ ในบ้านเราในชุมชนเรา บัญชีความรู้ความคิดของเรา บัญชีผู้ทรงคุณ ผู้รู้ในชุมชนเรา บัญชีเด็กและเยาชนของเรา บัญชีภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ของเรา เป็นต้น หมายความว่า สิ่งหรือเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตของเรา เราจดบันทึกได้ทุกเรื่อง หากประชาชนทุกคนจดบันทึกจะมีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ครอบครัวเรียนรู้ ชุมชนเรียนรู้ และประเทศเรียนรู้การเรียนรู้เป็นที่มาของปัญญา ปัญญาเป็นที่มาของความเจริญทั้งกาย สังคม ใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์จะเห็นว่า การทำบัญชี หรือการจดบันทึกนี้สำคัญยิ่งใหญ่มาก บุคคลสำคัญในประเทศหลายท่านเป็นตัวอย่างที่ดีของการจดบันทึก เช่น ท่านพุทธทาส ในหลวง และสมเด็จพระเทพ ล้วนเป็นนักบันทึกทั้งสิ้น การบันทึก คือ การเขียน เมื่อมีการเขียนย่อมมีการคิด เมื่อมีการคิดย่อมก่อปัญญา แก้ไขปัญหาได้โดยใช้เหตุผลวิเคราะห์พิจารณา ได้ถูกต้อง นั่นคือ ทางเจริญของมนุษย์
                การทำบัญชีครัวเรือนในด้านเศรษฐกิจ หรือการบันทึกรายรับรายจ่ายที่ทางราชการพยายามส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำกัน นั่น เป็นเรื่องการบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันประจำเดือนว่า มีรายรับจากแหล่งใดบ้าง จำนวนเท่าใด มีรายจ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ในแต่ละวัน สัปดาห์ เดือน และ ปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า ตนเองและครอบครัวทีรายรับเท่าใด รายจ่ายเท่าใด คงเหลือเท่าใด หรือ เงินไม่พอใช้เท่าใด คือ รายจ่ายมากกว่ารายรับ และสำรวจว่ารายการใดจ่ายน้อยจ่ายมาก จำเป็นน้อยจำเป็นมาก จำเป็นน้อย อาจลดลง จ่ายเฉพาะที่จำเป็นมาก เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน การศึกษา เป็นต้น ส่วนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นให้ลด ละ เลิก เช่น ซื้อบุหรี่ ซื้อเหล้า เล่นการพนัน เป็นต้น เมื่อนำรายรับ รายจ่าย มาบวกลบกันแล้วขาดดุลเกินดุลไปเท่าใด เมื่อเห็นตัวเลข จะทำให้เราคิดได้ว่าสิ่งไม่จำเป็นนั้นมีมากหรือน้อยสามารถลดได้หรือไม่ เลิกได้ไหม ถ้าไม่ลดไม่เลิกจะเกิดอะไร กับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ หากเราวางแผนการรับการจ่ายเงินของตนเองได้ เท่ากับว่า รู้จักความเป็นคนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนมีเหตุมีผล เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็นคนรักตนเอง รักครอบครัว รักชุมชน และรักประเทศชาติมากขึ้นจึงเห็นได้ว่า การทำบัญชีครัวเรือน ในเรื่องรายรับรายจ่าย ก็คือวิถีแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม พอดี สอดคล้องถูกต้องตามกฎธรรมชาติที่มีทั้งความเป็นเอกภาพและดุลยภาพอยู่เสมอ
                การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีชีครัวเรือนมีความสำคัญดังนี้
                1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน
รายรับ หรือ รายได้ คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพ หรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น รายได้จากค่าจ้างแรงงาน เงินเดือน ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร หรือ จากเงินให้กู้ยืม รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
รายจ่าย หรือ ค่าใช้จ่าย คือ คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่จ่ายออกไปเพื่อให้ได้สิ่งตอบแทนกลับมา สิ่งตอบแทนอาจเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมัน ค่าหนังสือตำรา เป็นต้น หรือรายจ่าย อาจไม่ได้รับสิ่งตอบแทนคือสินค้าหรือบริการก็ได้ เช่น เงินบริจาคเพื่อการกุศล เงินทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น
หนี้สิน คือ ภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืนในอนาคต การชดใช้อาจจ่ายเป็นเงินหรือของมีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองมีอยู่ หนี้สินเป็น เงินหรือสิ่งของที่มีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองได้รับมาจากบุคคลหรือแหล่งเงินภายนอก เช่น การกู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆ การซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ การซื้อสินทรัพย์เป็นเงินผ่อนชำระ หรือการเช่าซื้อ เป็นต้น
เงินคงเหลือ คือ เงิน หรือ ทรัพย์สินที่วัดมูลค่าได้ หลังจากนำรายรับลบด้วยรายจ่ายแล้วปรากฏรายรับมากกว่ารายจ่ายจะทำให้มีเงินคงเหลือ หรือในหลักทางบัญชีเรียกว่า กำไร แต่หากหลังจากนำรายรับลบด้วยรายจ่ายแล้วปรากฏว่ารายจ่ายมากกว่ารายรับจะทำให้เงินคงเหลือติดลบหรือทางบัญชีเรียกว่าขาดทุน นั่นเอง
                2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผนการใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และรายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ตัดออก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการออมทรัพย์สำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในอนาคต บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถจัดได้หมด จึงนับว่ามีประโยชน์มาก
ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ ลืมบันทึกบัญชี ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบันทึก และส่งผลให้ไม่อยากบันทึก ผู้จัดทำเข้าใจผิดในรายการบัญชี ไม่เข้าใจรายการที่เป็นรายรับ จึงไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ลูกส่งเงินมาให้พ่อแม่สำหรับใช้จ่ายทุกวันสิ้นเดือน แต่พ่อแม่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายรับเนื่องจากเข้าใจว่าเงินที่ได้รับมานั้นมิได้เกิดจากการประกอบอาชีพของตนเองหรือ เข้าใจผิดรายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ทำให้มิได้เก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำระหนี้ในอนาคต เช่น ยืมเงินจากเพื่อนบ้านมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงแม้จะได้รับเงินมาแต่รายการดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นรายรับเนื่องจากตนเองมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้ในอนาคต ซึ่งอาจต้องชดใช้เงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยด้วย จากสาเหตุดังกล่าวอาจทำให้ครอบครัววางแผนการใช้จ่ายเงินผิดพลาด
ส่วนข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่งคือ การเขียนชื่อรายการผิด การบันทึกตัวเลขผิด การบวกหรือการลบจำนวนเงินผิดอาจเกิดจากการลืมจดบันทึกรายการบัญชี หรือบันทึกรายการซ้ำๆ กันหลายรายการ ปัญหาดังกล่าวแก้ไขโดยการคำนวณจำนวนเงินกระทบยอดเงินคงเหลือในบัญชีกับยอดเงินฝากธนาคารที่ครอบครัวมีอยู่จริง หรือยอดเงินที่เก็บไว้สำหรับใช้จ่ายจริง หากพบว่ายอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร แสดงว่าการจัดทำบัญชีถูกต้อง แต่หากกระทบยอดแล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากันอาจเกิดจากการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของครอบครัวสูญหาย นะคะ มาถึงตอนนี้แล้วท่านผู้ฟังหลายท่านอาจนึกในใจแล้วว่าการจดบันทึกเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดี การเงินขาดสภาพคล่องด้วยแล้วละก็คิดว่าหลายท่านคงอยากจะหันมาจดบันทึกรายรับและรายจ่ายกันบ้าง
การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอ โดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินหรือปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้
                1. การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับการพนัน สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
                2. การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด อดออม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ไว้รับประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหาร และค่าเดินทางไปตลาด อีกทั้งทำให้สุขภาพดีอีกด้วย ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็นต้น
                3. การเพิ่มรายรับ หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ เช่น การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า การขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผัก หรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น
                4. การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด รู้จักอดออม การใช้ทรัพยากรต่างๆ ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน
บทสรุป

                การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงินและการวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

     2.งบประมาณการเงิน (Financial budgets) เป็นการวางแผนงบประมาณด้านการเงิน การลงทุนในสินทรัพย์ เพื่อจะได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน และเงินสด ประกอบด้วยงบประมาณต่างๆ

  • งบประมาณเงินสด (Cash budget)
  • งบประมาณรายจ่ายฝ่ายทุน (Capital expenditures budget)
  • งบประมาณงบดุล หรืองบดุลโดยประมาณ (Budgeted balance sheet)
  • งบประมาณงบกระแสเงินสด (Budgeted cash flow statement)

ระบบการจัดทำงบประมาณโดยใช้คอมพิวเตอร์

     ระบบการจัดทำงบประมาณโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computerized budgeting systems) หลายธุรกิจใช้การจัดทำงบประมาณด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การจัดทำงบประมาณด้วยวิธีนี้จะทำได้รวดเร็ว และสามารถลดต้นทุนในการจัดเตรียมงบประมาณได้ เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลจำนวนมาก นอกจากนี้การใช้คอมพิวเตอร์ยังมี
     ผู้จัดการมักจะใช้เอกสารคอมพิวเตอร์หรือโมเดลสถานการณ์จำลองแสดงการดำเนินงานและความสัมพันธ์ของงบประมาณ การใช้โมเดลสถานการณ์จำลองคอมพิวเตอร์ (Computer simulation models) จะทำให้ผู้บริหารสามารถประเมินทางเลือกการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งมีงบประมาณที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง ถ้าอัตราค่าแรงงานทางอ้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง เราจะสามารถปรับปรุงงบประมาณเพื่อดูผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
     วัตถุประสงค์ทั่วไปของการใช้ระบบการจัดทำงบประมาณโดยใช้คอมพิวเตอร์คือ เพื่อเชื่อมโยงทุกงบประมาณขององค์การเข้าด้วยกัน
   
 งบประมาณหลัก
     งบประมาณหลัก (Master budget) เป็นงบประมาณที่สรุปแผนงบประมาณของทุกหน่วยงานในองค์การธุรกิจ ซึ่งงบประมาณเหล่านั้นสามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้ในงบประมาณหลัก (Master budget) ประกอบด้วยงบประมาณ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
     1.งบประมาณการดำเนินงาน (Operating budgets) เป็นการวางแผนงบประมาณเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการในอนาคต งบประมาณการดำเนินงานเมื่อวางแผนครบทุกงบประมาณจะทำให้สามารถทราบถึงผลการดำเนินงาน ในอนาคตได้ งบประมาณประกอบด้วย ดังนี้

  • งบประมาณการขาย
  • งบประมาณต้นทุนขาย
  • งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร
  • งบประมาณงบกำไรขาดทุน หรืองบกำไรขาดทุนโดยประมาณ
   

ระบบการจัดทำงบประมาณ

     ระบบการจัดทำงบประมาณ (Budgeting systems) ระบบการจัดทำงบประมาณ อาจจะแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างองค์การ (Organizational structure) ความซับซ้อนในการดำเนินงาน (Comprexity of operations) รูปแบบธุรกิจ (Types of  businesses ) เช่น ธุรกิจการผลิต ธุรกิจการให้บริการ งบประมาณขั้นพื้นฐาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกองค์การและในธุรกิจในทุกรูปแบบ
     การจัดทำงบประมาณสามารถทำได้หลายวิธี
     1.งบประมาณต่อเนื่อง (Continuous budget) เป็นการจัดทำงบประมาณของปีการเงิน  ซึ่งมีระยะเวลาครบ 12 เดือน แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
     การพัฒนางบประมาณอย่างต่อเนื่อง ในการจัดทำงบประมาณจะอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการ และผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการฝ่ายการผลิต ผู้จัดการฝ่ายขาย และผู้จัดการฝ่ายวางแผนและพัฒนาเป็นต้น โดยงบประมาณที่จัดทำขึ้นนั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหาร
     2.งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-based budget) เป็นการจัดทำงบประมาณโดยไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลของงบประมาณปีใดเป็นปีฐาน แต่จะเริ่มจัดทำงบประมาณใหม่ทั้งหมด โดยผู้จัดการจะประมาณการยอดขาย การผลิตและข้อมูลการดำเนินงานอื่น ๆ โดยพิจารณาถึงความต้องการใช้ทรัพยากรในกิจกรรมนั้นๆ เป็นงบประมาณโครงการใหม่ เป็นต้น
     ข้อดีของงบประมาณฐานศูนย์ (Zero-based budget) คือ จะมีการวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณให้ตามความจำเป็น
    ข้อเสีย ทำได้ยากและใช้เวลามาก สำหรับการนำไปใช้ จะใช้ในหน่วยงานที่เน้นในเรื่องของการลดต้นทุน (Cost reduction) หรือเน้นในเรื่องการประเมินประสิทธิภาพ
     ตามปกติการจัดทำงบประมาณจะเริ่มจากการนำงบประมาณของปีที่ผ่านมา มาทำการปรับปรุงให้เป็นงบประมาณปีใหม่ งบประมาณที่ใช้แนวความคิดดังกล่าวมี 2 ประเภทคือ
     1.งบประมาณคงที่ (Static budget) เป็นงบประมาณที่จัดทำขึ้นโดยแสดงถึงศูนย์ความรับผิดชอบ (Responsibility center)  งบประมาณคงที่จงไม่สามรถนำไปปรับปรุงได้ จะมีข้อเสียคือ จำนวนค่าใช้จ่ายจริงแตกต่างจากงบประมาณที่จัดทำไว้
    2.งบประมาณยืดหยุ่น (Flexible budget) หรืองบประมาณผันแปร (Variable budget) การจัดทำงบประมาณยืดหยุ่นมีการประมาณการวางแผนงบประมาณหลายระดับการดำเนินงาน จงเป็นประโยชน์ในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายโรงงาน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้น โดยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับงบประมาณที่วางแผนไว้
   




วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การจัดทำงบประมาณ

    งบประมาณ (Budget) หมายถึง แผนการดำเนินงานเกี่ยวกับ การจัดหาและการใช้ทรัพยากรทางการเงิน และทรัพยากรอื่นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในการประมาณการทางการเงินหรือทรัพยากรอื่นนั้น จะต้องประมาณการอย่างมีระบบ  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคต
     โดยทั่วไปงบประมาณจะนำมาใช้เพื่อช่วยตัดสินใจในการสร้างกำไรให้ก้บธุรกิจ นอกจากนี้งบประมาณยังมีบทบาทสำคัญในการบริหารงานของกิจการอื่นด้วย เช่น โรงเรียน วัด โบสถ์ โรงพยาบาล สถานีตำรวจ หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร  ตลอดจนบุคคลและครอบครัวก็สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการบริหารทางการเงินของครอบครัวได้
     วัตถุประสงค์ของการจัดทำงบประมาณ (Objectives of budgeting) วัตถุประสงค์ของการจัดทำงบประมาณจะเกี่ยวข้องกับ
     1.การกำหนดเป้าหมายเฉพาะ
     2.การบริหารแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
     3.การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นระยะๆเป้าหมายเหล่านี้ประกอบด้วย เป้าหมายธุรกิจโดยรวมและเป้าหมายเฉพาะด้านสำหรับหน่วยธุรกิจในองค์การ  การกำหนดเป้าหมายเฉพาะด้านสำหรับการดำเนินงานในอนาคตเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่การวางแผน (Planning Function) ในการบริหารงาน ในขณะที่การบริหารงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายถือว่าเป็นหน้าที่ในการอำนวยการ (Directing Function) การเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นระยะๆ นั้นถือว่าเป็นหน้าที่ในการควบคุม (Controlling Function) ความสัมพันธ์ของหน้าที่เหล่านี้
     การวางแผน (Planning) เป็นกระบวนการพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการในอนาคต และวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ การวางแผนจะเป็นการกำหนดกิจกรรมการบริหารงานทั้งหมด ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์และแนวทางที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ การจัดทำงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนที่ทำให้องค์การนั้นบรรลุเป้าหมาย ซึ่งขั้นตอนของการกำหนดเป้าหมายจนกระทั่งออกมาเป็นงบประมาณนั้น

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การคิดต้นทุนฐานกิจกรรมสำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร

     การคิดต้นทุนฐานกิจกรรมสำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร (Activity-based costing for selling and administrative expenses) ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป [Generally Accepted Accounting Priciples (GAAP) ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารนั้นถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด (Period cost) ในงบกำไรขาดทุนที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอก แต่อย่างไรก็ตามนักบัญชีจะต้องมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารไปยังผลิตภัณฑ์ เพื่อการจัดทำรายงานความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์เสนอต่อผู้บริหาร วิธีดั้งเดิม (Traditional method) จะจัดสรรค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารของผลิตภัณฑ์โดยใช้เกณฑ์ยอดขายผลิตภัณฑ์ แต่ผลิตภัณฑ์นั้นอาจใช้กิจกรรมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับยอดขายก็ได้ ดังนั้นการจัดสรรค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารโดยวิธีต้นทุนฐานกิจกรรมจะมีความถูกต้องมากกว่า

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การพัฒนาการวางแผนเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย

จากบทความที่ก่อนก็ได้กล่าวถึงการ  วางแผนการใช้เงิน วิธีการออมเงิน บทความนี้เรามากล่าวถึงการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
      การตั้งเป้าหมาย เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะดลบันดาลให้ฝันเป็นจริง เป้าหมายชี้ให้เห็นหนทาง เป้าหมายก่อให้เกิดความเชื่อมั่น และเป็นบ่อเกิดของแรงจูงใจ และที่สำคัญที่สุดก็คือ เป้าหมายให้คุณลุกขึ้นมาจัดการกับชีวิตของคุณเอง   ท่ามกลางความวุ่นวายสับสนในแต่ละวัน มันทำให้คุณลืมพลังของการตั้งเป้าหมาย  ซึ่งใช้เวลาพอสมควรที่จะพิสูจน์ให้คุณเห็นว่า การเขียนเป้าหมายหรือความตั้งใจที่จะทำอะไรสักอย่างนั้น มีความสำคัญสูงเพียงใด มันทำให้ชีวิตคุณมีความหมาย เป็นระเบียบและชัดเจนขึ้น ฉะนั้นคุณควรลุกขึ้นมาพัฒนาการวางแผนเพื่อที่จะบรรลุถึงความฝันหรือความปรารถนาของคุณ โดยคุณควรจะเริ่มต้นทันที


  •    สร้างความมุ่งมั่นที่จะสานต่อการวางแผนของคุณจนสำเร็จ
  •    ซื่อสัตย์กับตัวเอง
  •    ตั้งเป้าหมายที่ที่เป็นไปได้ แต่ควรตั้งเป้าหมายนั้นให้สูงหน่อย
  •    มีความเชื่อมั่นว่าคุณจะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น                                                                             
การตั้งเป้าหมายนั้น จะประสบผลสำเร็จดีเยี่ยม หากคุณได้เขียนมันลงไปจริงๆ แล้วการเขียนแบบแผนสำหรับเป้าหมายที่ตั้งขึ้นนั้น สามารถเปลี่ยนฝันของคุณให้เป็นการลงมือทำ เพราะมันจะมีการกำหนดแผนเป็นขั้นเป็นตอนและระบุวันเวลาลงไว้ด้วย การจะวางแผนงานให้บรรลุเป้าหมายนั้น อยากให้คุณ พิจารณาขั้นตอนต่างๆดังนี้
  •     ระบุเป้าหมายให้ชัดเจน  ทดสอบเป้าหมายของคุณด้วยการถามตัวเอง ว่า ''ฉันจะรู้ไหมว่าฉันได้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว'' ถ้าคุณไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ แสดงว่าเป้าหมายของคุณยังไม่ชัดเจน ขอให้คุณตั้งเป้าหมายของคุณใหม่ให้ชัดเจนขึ้น
  •     ระบุให้เห็นถึงประโยชน์ของการบรรลุเป้าหมาย   ขอให้คุณเขียนรายการเท่าทีคุณพอจะนึกได้ ให้คุณนึกถึงรางวัล ผลประโยชน์ที่คุณคิดว่าคาดจะได้รับ  การนึกถึงรางวัลเหล่านี้จะทำให้คุณตื่นตัว และเกิดแรงบันดาลใจสูงขึ้นที่จะส่งให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 
  •    เขียนอุปสรรคหรือข้อขัดข้อง ต่างๆ ที่คุณคิดว่าน่าจะเกิดขึ้น ให้คุณถามตัวเองว่า มีอะไรที่จะเป็นสิ่งที่ทำให้ฉันไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้เมื่อได้แล้วให้วางแผนแก้ปัญหาเหล่านั้นก่อนที่มันจะเกิดขึ้น
  •  ให้คุณแบ่งเป้าหมายใหญ่ที่วางไว้ให้เป็นเป้าหมายเล็กๆ เพื่อที่จะทำให้คุณสามารถ บรรลุเป้าหมายเล่านั้นได้ที่ล่ะขั้นๆ แล้วให้รางวัลตนเองกับชัยชนะเหล่านั้น
  • กำหนดเวลา ขั้นตอน ของแต่ละเป้าหมาย แต่ละขั้นตอน  คุณจะต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใด  คุณจะทำมันช้าเร็วแค่ไหน คุณจะต้องทำอะไรบ้าง ให้กำหนดวัน (ที่เป็นไปได้)ที่คุณต้องทำมันให้สำเร็จ 
  • ติดตามผลงาน การติดตามผลงานจะทำให้คุณสามารถ มองเห็นเป้าหมายอยู่ตรงหน้า  ทำให้คุณสามารถ จัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง และทำให้คุณรู้ว่าจะทำอันไหนก่อน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เคล็ดลับสู่ความมั่นคงทางการเงิน

          นอกจากจะวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังมีรายละเอียด
เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยพาคุณไปถึงเป้าหมายและก้าวไปสู่ “ความมั่นคงทาง
การเงิน” ได้เร็วขึ้น

• จัดสรรรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท                   
โดยดูว่าค่าใช้จ่ายจำ เป็น                                
ในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง จากนั้นแบ่ง
รายได้ออกเป็นส่วน ๆ ส่วนหนึ่งกันไว้
เพื่อเป็นเงินออมส่วนหนึ่งกันไว้สำหรับ                     
ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นหากรายรับไม่เพียงพอ
สำหรับการใช้จ่ายและเก็บออมเห็นที
คงต้องหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว
เสียแล้วว่าจะลดรายจ่ายหรือมีวิธีเพิ่ม
รายได้ตรงไหนได้บ้าง


    • จัดเก็บใบเสร็จ
 และจ่ายเงินให้ตรงกำหนด                                                               
 เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่ม
โดยไม่จำ เป็น โดยอาจจะจดไว้ที่ปฏิทิน
หรือบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือ ก็จะ
ช่วยให้เราไม่ลืมได    



• ออมเงินล่วงหน้าสำหรับรายจ่ายก้อนโต
หากรู้ล่วงหน้าว่าเดือนใดจะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เงินจำ นวนมาก เช่น
ค่าเล่าเรียนลูก ค่าซ่อมรถ ควรวางแผนเก็บเงินแต่เนิ่น ๆ

• บริหารเงินออมอย่างมืออาชีพ
การนำ เงินออมที่มีอยู่มาบริหารจัดการให้งอกเงย มีหลายวิธีเช่น
ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ ซื้อกองทุนรวมฯลฯ
ซึ่งแน่นอนว่าคุณต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจรูปแบบการออมนั้นให้ดีว่า
ผลตอบแทนที่ได้รับคุ้มกับความเสี่ยงที่มีหรือไม่ รวมทั้งติดตามข่าวสารภาวะ
เศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อการออมของคุณด้วย เช่น ในภาวะอัตรา
ดอกเบี้ยขาขึ้น อาจฝากประจำ ระยะสั้น ๆ หรือซื้อกองทุนรวม หรือพันธบัตร
ที่มีระยะเวลาครบกำหนดสั้น ๆ เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อนำ เงินไปฝาก
หรือลงทุนต่อเมื่อครบอายุ หรือถ้าเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้นน่าจะสูงสุด
แล้ว โดยหลังจากนี้อัตราดอกเบี้ยน่าจะต่ำ ลง อาจเลือกฝากประจำ ระยะยาว
กว่า 1 ปีเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงไปตลอดระยะเวลาการฝาก เป็นต้น   



 •บริหารหนี้อย่างชาญฉลาด
การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเสมอไปหากรู้จักบริหารจัดการ และก่อหนี้
ที่มีประโยชน์ สินเชื่อเป็นเครื่องมือสำ คัญที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน
ได้เร็วขึ้น เช่น กู้เพื่อซื้อบ้าน กู้เพื่อประกอบธุรกิจ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องประเมิน
ความสามารถในการชำระคืนของตนเองด้วย โดยมีหลักคร่าว ๆ คือภาระในการ
ชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้ทุกประเภทรวมกันในแต่ละเดือนไม่ควรเกิน
1 ใน3 ของรายได้ต่อเดือน


• หยุดวงจรหนี้
หากคุณมีหนี้สินเกินตัวเห็นทีต้องหยุดวงจรหนี้นั้นเสียโดยการรัดเข็มขัด
ประหยัดมากขึ้น และค่อย ๆ ทยอยผ่อนชำระจนหนี้นั้นหมด โดยเฉพาะหนี้ที่ต้อง
จ่ายดอกเบี้ยสูง เช่น หนี้บัตรเครดิต(อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี) หรือสินเชื่อ
ส่วนบุคคล(อัตราดอกเบี้ย28%ต่อปี)และไม่ควรก่อหนี้อื่นเพิ่มซึ่งหากคุณไม่แน่ใจ
ว่าจะสามารถชำ ระคืนหนี้สินนั้นได้หรือไม่ก็ควรหารือกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออก
ร่วมกัน มากกว่าจะคิดหนีหนี้


• เตรียมความพร้อมยามเกษียณ 
หลายคนอาจมองว่า อีกตั้งนานกว่าจะเกษียณ รอไปก่อนค่อยคิดก็ได้
แต่พอมานึกได้อีกทีก็เข้าวัยเกษียณเสียแล้ว ทั้งที่จริงยิ่งเราเตรียมการไว้ล่วงหน้า
เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำ ให้เรามีความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณมากขึ้นเท่านั้น


วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คุณวางแผนการเงินของคุณแล้วหรือยัง??

ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนปัญหาที่เรามักพบบ่อยคือเงินใช้เดือนชนเดือน รายจ่ายมีมากกว่ารายรับ สิ้นเดือนก็เหมือนสิ้นใจ เพราะคุณไม่เคยมีการวางแผนทางด้านการเงินที่ดีหรือคุณอาจมีการวางแผนแต่ก็ยังไม่ดีพอ ส่วนใหญ่แล้วมักมีเหตุผลดังนี้
-คิดว่าตัวเองมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายรายวันแล้ว
-ลืมคิดไปว่าตัวเองอาจมีมรสุมชีวิตในอนาคตก็ได้เช่น ว่างงาน  ประสบอุบัติเหตุ ฯลฯ
-ไม่มีเวลาจัดทำแผนการเงินของตัวเอง
-คิดว่าการวางแผนการเงินอาจจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง
-คิดว่าตัวเองมีฐานะทางด้านการเงินดีอยู่
-คิดว่าการวางแผนการเงินเหมาะสำหรับผู้ที่เกษียรอายุแล้วเท่านั้น
ดังนั้นแล้ว คุณควรจะวางแผนการเงินของตัวคุณเองให้เหมาะสม เพื่อจัดสรรเงินที่มีอยู่ให้เพียงพอและเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายในชีวิตคุณ โดยคำนึงถึงช่วงอายุและรายได้ เป็นสำคัญ
ช่วงอายุ ( Life Cycle) 
ช่วงอายุของคนเรามีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย เหมือนวัฐจักรชีวิต เริ่มจากวัยเด็กที่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้ใหญ่พอเริ่มโตก็ต้องศึกษาเล่าเรียน เพื่อหางาน สร้างเงิน และสร้างตัว ซึ่งเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับการเงิน และปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่พบคือ รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายจึงไม่สามารถเก็บออมเงินเพื่ออนาคตได้ปัจจัยสำคัญประการแรกที่คุณควรพิจารณาในการวางแผนการเงิน ผู้ที่มีอายุน้อยและมีรายได้อยู่ในช่วงเริ่มสะสมทรัพย์ มักจะนิยมออมเงินเพื่อมาซื้อทรัพย์สินเช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน ทำให้เงินออมส่วนใหญ่มักจะจมไปกับการผ่อนหนี้ที่มัดตัวจนไม่สามารถนำไปลงทุนให้เงินงอกเงยได้ ดังนั้น คุณควรจะวางแผนว่ามีความ จำเป็นที่จะใช้สินทรัพย์ใดบ้าง ในช่วงอายุใดที่เหมาะสมจะซื้อ และต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ได้มา เมื่อทำงานได้จนสามารถสะสมทรัพย์สินตามที่ต้องการแล้ว คุณควรจะเริ่มลงทุนในสิ่งที่มั่นคงถาวรขึ้น เพื่อเป็นเงินออมสำหรับใช้เมื่อเกษียรอายุโดยมีจุดประสงค์ที่จะเป็นอิสระทางการเงินเป็นสำคัญ

ช่วงอายุของผู้ลงทุนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
1ช่วงอายุเริ่มทำงานและเริ่มสะสมทรัพย์ เป็นช่วงที่มีรายได้น้อย แต่สม่ำเสมอ โดยปกติแล้วรายได้ก็มักจะเพิ่มขึ้นตามความสามารถและความรับผิดชอบที่สูงขึ้น และการพัฒนาความรู้ของงานนั้นๆๆ
2ช่วงอายุที่ชีวิตมีรายได้มากกว่ารายจ่าย  เป็นช่วงที่มีระดับความสามารถหารายได้ได้สูงสุด เนื่องจากมีหน้าที่การงานที่มั่นคงและหนี้สินที่ลดลง และทำให้มีเงินสำหรับเอาไว้ลงทุนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคุณคุณจะเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในช่วงที่เกษียรอายุด้วย
3 ช่วงอายุ ที่คุณเกษียรอายุการทำงาน  เป็นช่วงที่คุณมีโอกาสหารายได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะใช้เงินที่สะสมและที่ลงทุนไว้ เงินบำนาญเงินออมเกษียณอายุเพื่อการใช้ดำรงชีวิต ส่วนใหญ่มักจะเป็นช่วงที่คุณมีอิสระทางด้านดารเงิน
4 ช่วงอายุ ช่วงปลายของชีวิต มีทรัพย์สินมากเกินกว่าจะใช้หมด จึงมีเหลือเผื่อแผ่เจือจุนให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะหมดไปกับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง 

รายได้ที่ได้รับ ( Income)
เมื่อมีรายได้เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้จากเงินประจำเดือน จากธุรกิจส่วนตัว เงินจากมรดก หรืออื่น ๆ คุณควรจัดสรรเงินก้อนแรกไว้สำหรับค่าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของตัวคุณและครอบครัว เช่น 
เงินค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ   เป็นต้น หลังจากที่เตรียมการขั้นพื้นฐานสำหรับชีวิตไว้เรียบร้อยแล้ว คุณควรจะตระหนักถึงค่าใช้จ่ายสำคัญที่คุณควรจัดเตรียมไว้ก่อนเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อคุณจะได้ไม่มีความกังวลใจและเครียดกับผลของการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย
 เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เงินสำรองนี้ควรเก็บไว้ในรูปแบบที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด และสามารถเบิกใช้ได้ทันทีที่ต้องการ เช่น การฝากในรูปบัญชีออมทรัพย์
 - ภาระหนี้สิน    ถือเป็นหน้าที่ของคุณตามกฎหมายที่ต้องรับผิดชอบ เพราะหากคุณไม่จ่ายตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินในครอบครองหรืออาจฟ้องล้มละลายได้ 
- เงินสำหรับแผนการในอนาคต หากคุณมีแผนการที่ชัด-เจนเหล่านี้อยู่ในใจ ก็ควรจะวางแผนเก็บเงินเพื่อแผนการนั้น โดยคำนวณจากเงินที่มีในปัจจุบันและรายได้ในอนาคต
- เงินประกัน คุณอาจจะจัดทำประกันชีวิต หรือประกันอื่น ๆ ทั้งแก่ตัวคุณเองและสมาชิกในครอบครัวให้ ในกรณีที่คุณไม่อยากเสี่ยงกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คุณสามารถวางแผนการเงินโดยจัดทำประมาณการกระแสเงินสดอย่างง่าย ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รวมรายได้ที่ได้รับทั้งหมด
               ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนของตัวเอง คู่สมรส เงินโบนัส เงินปันผล ดอกเบี้ย รายได้ต่างๆไม่ว่าจะมาจากทางไหน เอามารวมกันแล้วตั้งเอาไว้ 
ขั้นตอนที่ 2 หักค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรกสำหรับดำรงชีพ
               รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหารซื้อเสื้อผ้า ค่ารถไปทำงาน ค่าดูหนังฟังเพลง
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจดูเงินสำรองฉุกเฉินว่ามีเพียงพอหรือไม่
               คราวนี้ก็มาสำรวจว่าตัวเรามีเงินสำรองที่ต้องเก็บอะไรบ้างไม่ว่าจะฝากออมทรัพย์ไว้ หรือเงินลงทุนระยะสั้นอื่นๆที่คุณไปลงทุนไว้ รวมทั้งหมดว่ามีเท่าไหร่
ขั้นตอนที่ 4 จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น (ถ้ามี)
               อันนี้สำคัญเลยหนี้สินที่มีอยู่ตอนนี้มีอะไรบ้างมีอยู่เท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต เงินกู้ระยะสั้น ระยะยาว นำมารวมว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่
ขั้นตอนที่ 5 หักเงินสำหรับแผนการในอนาคต
               ค่าใช้จ่ายอนาคต ที่คุณคาดว่าจะต้องใช้ ไม่ว่าจะดาวน์บ้าน ซ่อมแซมบ้านครั้งใหญ่ ทุนการศึกษาลูกๆ หรือแผนเกษียน
ขั้นตอนที่ 6 หักเงินค่าเบี้ยประกันเพื่อความมั่นคงในชีวิต (ถ้ามี)
               อย่างเช่นเงินค่าประกันชีวิต ค่าประกันรถยนต์ รวมว่าทั้งหมดมีเท่าไหร่

ขั้นตอนที่ 7 คำนวณหาเงินเก็บเงินลงทุนที่คุณมี
               - รายได้รวม 
               - หักค่าใช้จ่ายประจำ 
               - หักเงินสำรองรวม 
               - หักหนี้สินรวม

               - หักค่าใช้จ่ายอนาคต 
               - หักเงินประกันรวม





เงินเก็บและเงินลงทุน สรุปแล้วคุณมีเงินที่จะเก็บหรือจะนำไปลงทุนเท่าไหร่หลังจากคำนวณตามรายการข้างต้นแล้ว แล้วคุณจะได้คำตอบว่าถึงเวลาที่คุณจะวางแผนทางการเงินในชีวิตจริงของคุญแล้วรึยัง



ERP, ซอฟแวร์ ERP, ระบบ ERP, ERP software

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บัญชีครัวเรือนสู่การออม

การออมคืออะไร?
        การออม มีความหมายกว้าง  การออมคือ การใช้สิ่งมีค่ามีคุณทั้งหลายอย่างระมัดระวัง อย่างไม่ประมาท มีเหตุมีผล ทั้งในตนและนอกตน คือ ตนเอง ชีวิตของตนเองซึ่ง แต่ละคนจะต้องถือว่า มีความหมายสูงสุด สำคัญสูงสุด จึงต้องรู้จักตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต ไม่ปล่อยปละละเลยให้ ตกต่ำให้ไร้ค่า พยายามรักษาและพัฒนาให้เจริญให้ได้ ในขณะเดียวกัน ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพ ก็ต้องให้ความสำคัญ ต้องรู้จักเก็บรู้จักใช้ ไม่ปล่อยปละละเลย
 จะเห็นได้ว่า การออมมิได้มุ่งที่ออมเงินอย่างเดียว แต่หมายถึง การออมชีวิตตนเอง และปัจจัยในการดำรงชีพทุกอย่างด้วย

      การออม ในเบื้องต้น เป็นเรื่องของคน คือ จุดเริ่มต้นจะเกิดที่คน การออมจะเกิดได้ก็เพราะคนได้รับการศึกษาเรียนรู้ มีครู คือ พ่อแม่ เป็นต้น เป็นผู้แนะนำสั่งสอน ให้ความสำคัญ ความจำเป็น และผลหรือคุณประโยชน์ที่เกิดจากการออม เมื่อโตขึ้นก็คิดได้เอง ทำได้เอง และสอนผู้อื่นต่อไป  ปัจจุบัน เรารู้จักการออมกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการออมเงิน ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน มีการส่งเสริมการออมกันอย่างคึกคัก การออมเป็นเรื่องสำคัญและะมีประโยชน์มากต่อการดำรงชีวิตของเรา และการพัฒนาชีวิตของเรา

การออมให้คุณประโยชน์แก่เราอย่างไรบ้าง?

แยกเป็นเรื่องๆได้ดังนี้
       
   
1. ด้านเศรษฐกิจ คือ เป็นกิจที่ช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่และเปิดโอกาสให้คนได้พัฒนาชีวิตคนให้เจริญ ให้สูงขึ้นได้ การประกอบอาชีพ เช่น การปลูกพืชผัก เพื่อบริโภค เพื่อแจกจ่ายแก่เพื่อนบ้าน หรือเพื่อจำหน่ายให้ได้เงินมา เพื่อนำไปแลกกับปัจจัยด้านอื่น เช่น ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ เป็นต้น เรียกว่า เป็นเรื่องกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ คือ เรื่องการผลิต การแจกจ่าย และการบริโภค เงินเป็นตัวกลางของการแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายปัจจัยทั้งหลาย จึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีพสูงมาก โดยเฉพาะปัจจุบัน การจะมีเงินได้ก็เป็นเรื่องยาก ดังนั้น เมื่อได้มาก็ต้องรู้จักประหยัดรู้จักออม เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของปัจจัยในการดำรงชีพต่อไป

2. ด้านสังคม ในกระบวนการออม ถ้ารวมกลุ่มการออมตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ถึงจังหวัด ที่ปฏิบัติกันอยู่ขณะนี้ เห็นได้ชัดว่า มีผลดีด้านสังคม คือ เป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ให้คนคิดถึงกัน เอื้ออาทรต่อกัน หรือรักกันมากขึ้น อย่างกรณีการออมสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เป็นเครื่องมือให้คนที่เป็นสมาชิกคิด เอื้ออาทรต่อเพื่อนสมาชิก ต่อผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการช่วยตัวเองไม่ได้ และได้มีส่วนช่วยเพื่อนตั้งแต่วันลืมตามาดูโลกจนถึงวันตาย ถ้าได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังก็จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว และชุมชนได้ทางหนึ่ง

3.ด้านวัฒนธรรม กิจกรรมที่คนส่วนใหญ่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย มีสาระทั้งที่เป็นความรู้ ความคิด การปฏิบัติที่มีแบบแผนแน่นอน และทำอย่างต่อเนื่อง และให้ผลเป็นความดีแก่ผู้ปฏิบัติ เราจัดว่าเป็นวัฒนธรรม พฤติกรรมการออม กิจกรรมการออม ผลการออมมีลักษณะเช่นว่านี้ จึงจัดว่าเป็นวัฒนธรรมสำคัญของชุมชนได้อย่างหนึ่ง ถ้าได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังตลอดไป เพราะเนื้อในของการออม นั้นมีองค์ประกอบของความเป็นวัฒนธรรมครบถ้วน คือ มีทั้งองค์ความรู้ วิธีปฏิบัติ และผลการปฏิบัติที่ชัดเจน ให้ประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติดีได้ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกาย ด้านสังคม ด้านใจ และด้านจิตวิญญาณ

4. ด้านการศึกษา ภาพรวมทางกระบวนการการออมเป็นเรื่องของการเรียนรู้ การฝึกตนเอง ผู้ทำการออม หรือเป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อออมเพราะต้องรู้หลักคิด หลักการและหลักปฏิบัติ ตลอดถึงผลลัพธ์ที่พึงได้พึงมี การที่ทุกคนเดินเข้าสู่กระบวนการนี้ได้ชื่อว่า เดินเข้าสู่กระบวนการทางการศึกษา เพื่อพัฒนาตนเอง ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ อย่างตั้งใจจะเรียนรู้ก็จะได้รับประโยชน์ส่วนนี้อย่างครบถ้วน โดยไม่รู้ตัว และจะพบว่าตนเองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านการรู้ การคิด การพูด และการทำ

5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า เขา สัตว์ พืชที่เราได้เห็น อยู่รอบ ๆ ตัวเรา บ้านเรา ชุมชนเรา คือ ชีวิตเรา เพราะว่า เราต้องอาศัยดิน น้ำ ป่า เขา พืช สัตว์เหล่านั้น จึงมีชีวิตอยู่ได้  น้ำแห้ง ฝนแล้ง ป่าถูกเผา ภูเขาพัง สัตว์ล้มตายด้วยโรคบางชนิด ภาวะเช่นนี้ คือ สัญญาณเตือนภัยอันใหญ่หลวง ได้เกิดขึ้นแก่มนุษย์แล้ว เพราะเราเป็น อยู่ได้ พัฒนาได้ ก็โดยอาศัยสิ่งเหล่านี้ การพูดถึงการออมทรัพย์สินหรือทรัพยากรธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งเท่ากับออมชีวิต เงินทองจะมีความหมายก็เมื่อมีสิ่งนี้ เมื่อไม่มีสิ่งนี้ เงินทองก็หมดความหมาย กลายเป็นเศษกระดาษ เศษโลหะที่กินไม่ได้ ช่วยชีวิตมนุษย์ไม่ได้เลย การใช้เงินเพื่อจัดการทรัพยากรให้คงอยู่ในภาวะปกติ จึงเป็นเรื่องต้องคิดต้องทำ

6. ด้านการพัฒนาชีวิต การออมเป็นเรื่องการรู้ การคิด และ การทำ การออมที่เริ่มด้วยการเรียนรู้เรื่องสัจจะ คือ ความจริงที่รู้ ที่คิด ที่พูด ที่ทำ ของตนเอง ว่าจะต้องพูดจริง ทำจริง คิดจริง และรู้จริงนั้น นับเป็นการเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเอง รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างคนกับผู้คนในครอบครัว ในชุมชน เป็นต้น โดยเฉพาะคนในครอบครัว มีภรรยา หรือสามี และลูก ๆ รวมปู่ยาตายาย ถ้าคนในครอบครัวรู้จักสัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง จริงใจ จริงวาจา จริงการทำต่อกัน รู้จักข่มใจในบางโอกาสบางกรณี รู้จักอดทนอดกลั้น รู้จักสละสิ่งของให้แก่กัน และรู้จักสลัดอารมณ์มัวหมอง เป็นตน ก็มีคุณต่อชีวิตของคนในครอบครัว อย่างมากมายแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าได้ศึกษาให้ลึกลงไปในสัจจะของชีวิตทั้งที่ตนเอง ผู้อื่น สิ่งอื่น รอบ ๆ ตัวอีกด้วยแล้ว ก็จะยังเพิ่มคุณประโยชน์ให้อีกมากมาย จนถึงขั้นเข้าใจสัจธรรม ทั้งที่ตนเองผู้อื่น และสิ่งอื่น ก็ถือว่า ถึงขั้นสุดยอด ของการพัฒนาชีวิตแล้ว
จะเห็นได้ว่า คุณประโยชน์ของการออมนั้นมีมากมาย จริง ๆ ถึงเวลาหรือยังที่เราจะศึกษาเรียนรู้ และฝึกฝนเรื่องการออมกันอย่างจริงจักและกว้างขวางมากขึ้น ทั้งออมชีวิต ออมสิ่งของเงินทอง และทรัพยากรธรรมชาติ
            การออมกับบัญชีครัวเรือน
การทำบัญชี เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ การศึกษา การฝึกตน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติพัฒนาความรู้ ความคิด และการปฏิบัติที่ถูกต้อง ก่อความเจริญทั้งในด้านอาชีพหรือเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นต้นได้

การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของเรา ในครอบครัวของเรา ชุมชนของเรา และประเทศของเรา
การบันทึก คือ การเขียน เมื่อมีการเขียนก็มีการคิด เมื่อมีการคิดก็ก่อปัญญา เมื่อเกิดปัญญา เราก็มองเห็นเหตุเห็นผล เมื่อเห็นเหตุเห็นผล เราก็จะคิดจะทำให้ถูกตามเหตุตามผล เมื่อทำ พูด คิด ได้ถูกเหตุถูกผล นั่นคือ ทางเจริญของเรา
                    การทำบัญชีครัวเรือนในด้านเศรษฐกิจ หรือการบันทึกรายรับรายจ่ายที่ทางราชการพยายามส่งเสริมให้เราได้ทำกัน นั่น เป็นเรื่องการบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันประจำเดือนว่า เรามีรายรับจากอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด มีรายจ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ในแต่ละวัน สัปดาห์ เดือน และ ปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า เรารับเท่าใด จ่ายเท่าใด เหลือเท่าใด หรือเกิน คือ จ่ายเกินรับเท่าใด รายการใดจ่ายน้อยจ่ายมาก จำเป็นน้อยจำเป็นมาก จำเป็นน้อย อาจลดลง จ่ายเฉพาะที่จำเป็นมาก เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน การศึกษา เป็นต้น เท่าใด ซื้อบุหรี่ ซื้อเหล้า เข้าบาร์ บ้าหวย เป็นต้น จำนวนเท่าใด เมื่อนำมาบวกลบคุณหารกันแล้วขาดดุลเกินดุลไปเท่าใด เมื่อเห็นตัวเลข เราก็อาจคิดได้ว่าไอ้สิ่งไม่จำเป็นนั้นมันก็จ่ายเยอะ ลดมันได้ไหม เลิกมันได้ไหม ถ้าไม่ลดไม่เลิกมันจะเกิดอะไร กับเรากับครอบครัวเรา กับประเทศเรา ถ้าคิดได้ ก็เท่ากับว่า รู้จักความเป็นคนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนมีเหตุมีผล เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็นคนรักตนเอง รักครอบครัว