Translate

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คุณวางแผนการเงินของคุณแล้วหรือยัง??

ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนปัญหาที่เรามักพบบ่อยคือเงินใช้เดือนชนเดือน รายจ่ายมีมากกว่ารายรับ สิ้นเดือนก็เหมือนสิ้นใจ เพราะคุณไม่เคยมีการวางแผนทางด้านการเงินที่ดีหรือคุณอาจมีการวางแผนแต่ก็ยังไม่ดีพอ ส่วนใหญ่แล้วมักมีเหตุผลดังนี้
-คิดว่าตัวเองมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายรายวันแล้ว
-ลืมคิดไปว่าตัวเองอาจมีมรสุมชีวิตในอนาคตก็ได้เช่น ว่างงาน  ประสบอุบัติเหตุ ฯลฯ
-ไม่มีเวลาจัดทำแผนการเงินของตัวเอง
-คิดว่าการวางแผนการเงินอาจจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง
-คิดว่าตัวเองมีฐานะทางด้านการเงินดีอยู่
-คิดว่าการวางแผนการเงินเหมาะสำหรับผู้ที่เกษียรอายุแล้วเท่านั้น
ดังนั้นแล้ว คุณควรจะวางแผนการเงินของตัวคุณเองให้เหมาะสม เพื่อจัดสรรเงินที่มีอยู่ให้เพียงพอและเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายในชีวิตคุณ โดยคำนึงถึงช่วงอายุและรายได้ เป็นสำคัญ
ช่วงอายุ ( Life Cycle) 
ช่วงอายุของคนเรามีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย เหมือนวัฐจักรชีวิต เริ่มจากวัยเด็กที่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้ใหญ่พอเริ่มโตก็ต้องศึกษาเล่าเรียน เพื่อหางาน สร้างเงิน และสร้างตัว ซึ่งเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับการเงิน และปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่พบคือ รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายจึงไม่สามารถเก็บออมเงินเพื่ออนาคตได้ปัจจัยสำคัญประการแรกที่คุณควรพิจารณาในการวางแผนการเงิน ผู้ที่มีอายุน้อยและมีรายได้อยู่ในช่วงเริ่มสะสมทรัพย์ มักจะนิยมออมเงินเพื่อมาซื้อทรัพย์สินเช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน ทำให้เงินออมส่วนใหญ่มักจะจมไปกับการผ่อนหนี้ที่มัดตัวจนไม่สามารถนำไปลงทุนให้เงินงอกเงยได้ ดังนั้น คุณควรจะวางแผนว่ามีความ จำเป็นที่จะใช้สินทรัพย์ใดบ้าง ในช่วงอายุใดที่เหมาะสมจะซื้อ และต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ได้มา เมื่อทำงานได้จนสามารถสะสมทรัพย์สินตามที่ต้องการแล้ว คุณควรจะเริ่มลงทุนในสิ่งที่มั่นคงถาวรขึ้น เพื่อเป็นเงินออมสำหรับใช้เมื่อเกษียรอายุโดยมีจุดประสงค์ที่จะเป็นอิสระทางการเงินเป็นสำคัญ

ช่วงอายุของผู้ลงทุนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
1ช่วงอายุเริ่มทำงานและเริ่มสะสมทรัพย์ เป็นช่วงที่มีรายได้น้อย แต่สม่ำเสมอ โดยปกติแล้วรายได้ก็มักจะเพิ่มขึ้นตามความสามารถและความรับผิดชอบที่สูงขึ้น และการพัฒนาความรู้ของงานนั้นๆๆ
2ช่วงอายุที่ชีวิตมีรายได้มากกว่ารายจ่าย  เป็นช่วงที่มีระดับความสามารถหารายได้ได้สูงสุด เนื่องจากมีหน้าที่การงานที่มั่นคงและหนี้สินที่ลดลง และทำให้มีเงินสำหรับเอาไว้ลงทุนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคุณคุณจะเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในช่วงที่เกษียรอายุด้วย
3 ช่วงอายุ ที่คุณเกษียรอายุการทำงาน  เป็นช่วงที่คุณมีโอกาสหารายได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะใช้เงินที่สะสมและที่ลงทุนไว้ เงินบำนาญเงินออมเกษียณอายุเพื่อการใช้ดำรงชีวิต ส่วนใหญ่มักจะเป็นช่วงที่คุณมีอิสระทางด้านดารเงิน
4 ช่วงอายุ ช่วงปลายของชีวิต มีทรัพย์สินมากเกินกว่าจะใช้หมด จึงมีเหลือเผื่อแผ่เจือจุนให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะหมดไปกับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง 

รายได้ที่ได้รับ ( Income)
เมื่อมีรายได้เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้จากเงินประจำเดือน จากธุรกิจส่วนตัว เงินจากมรดก หรืออื่น ๆ คุณควรจัดสรรเงินก้อนแรกไว้สำหรับค่าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของตัวคุณและครอบครัว เช่น 
เงินค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ   เป็นต้น หลังจากที่เตรียมการขั้นพื้นฐานสำหรับชีวิตไว้เรียบร้อยแล้ว คุณควรจะตระหนักถึงค่าใช้จ่ายสำคัญที่คุณควรจัดเตรียมไว้ก่อนเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อคุณจะได้ไม่มีความกังวลใจและเครียดกับผลของการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย
 เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เงินสำรองนี้ควรเก็บไว้ในรูปแบบที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด และสามารถเบิกใช้ได้ทันทีที่ต้องการ เช่น การฝากในรูปบัญชีออมทรัพย์
 - ภาระหนี้สิน    ถือเป็นหน้าที่ของคุณตามกฎหมายที่ต้องรับผิดชอบ เพราะหากคุณไม่จ่ายตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินในครอบครองหรืออาจฟ้องล้มละลายได้ 
- เงินสำหรับแผนการในอนาคต หากคุณมีแผนการที่ชัด-เจนเหล่านี้อยู่ในใจ ก็ควรจะวางแผนเก็บเงินเพื่อแผนการนั้น โดยคำนวณจากเงินที่มีในปัจจุบันและรายได้ในอนาคต
- เงินประกัน คุณอาจจะจัดทำประกันชีวิต หรือประกันอื่น ๆ ทั้งแก่ตัวคุณเองและสมาชิกในครอบครัวให้ ในกรณีที่คุณไม่อยากเสี่ยงกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คุณสามารถวางแผนการเงินโดยจัดทำประมาณการกระแสเงินสดอย่างง่าย ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รวมรายได้ที่ได้รับทั้งหมด
               ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนของตัวเอง คู่สมรส เงินโบนัส เงินปันผล ดอกเบี้ย รายได้ต่างๆไม่ว่าจะมาจากทางไหน เอามารวมกันแล้วตั้งเอาไว้ 
ขั้นตอนที่ 2 หักค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรกสำหรับดำรงชีพ
               รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหารซื้อเสื้อผ้า ค่ารถไปทำงาน ค่าดูหนังฟังเพลง
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจดูเงินสำรองฉุกเฉินว่ามีเพียงพอหรือไม่
               คราวนี้ก็มาสำรวจว่าตัวเรามีเงินสำรองที่ต้องเก็บอะไรบ้างไม่ว่าจะฝากออมทรัพย์ไว้ หรือเงินลงทุนระยะสั้นอื่นๆที่คุณไปลงทุนไว้ รวมทั้งหมดว่ามีเท่าไหร่
ขั้นตอนที่ 4 จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น (ถ้ามี)
               อันนี้สำคัญเลยหนี้สินที่มีอยู่ตอนนี้มีอะไรบ้างมีอยู่เท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต เงินกู้ระยะสั้น ระยะยาว นำมารวมว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่
ขั้นตอนที่ 5 หักเงินสำหรับแผนการในอนาคต
               ค่าใช้จ่ายอนาคต ที่คุณคาดว่าจะต้องใช้ ไม่ว่าจะดาวน์บ้าน ซ่อมแซมบ้านครั้งใหญ่ ทุนการศึกษาลูกๆ หรือแผนเกษียน
ขั้นตอนที่ 6 หักเงินค่าเบี้ยประกันเพื่อความมั่นคงในชีวิต (ถ้ามี)
               อย่างเช่นเงินค่าประกันชีวิต ค่าประกันรถยนต์ รวมว่าทั้งหมดมีเท่าไหร่

ขั้นตอนที่ 7 คำนวณหาเงินเก็บเงินลงทุนที่คุณมี
               - รายได้รวม 
               - หักค่าใช้จ่ายประจำ 
               - หักเงินสำรองรวม 
               - หักหนี้สินรวม

               - หักค่าใช้จ่ายอนาคต 
               - หักเงินประกันรวม





เงินเก็บและเงินลงทุน สรุปแล้วคุณมีเงินที่จะเก็บหรือจะนำไปลงทุนเท่าไหร่หลังจากคำนวณตามรายการข้างต้นแล้ว แล้วคุณจะได้คำตอบว่าถึงเวลาที่คุณจะวางแผนทางการเงินในชีวิตจริงของคุญแล้วรึยัง



ERP, ซอฟแวร์ ERP, ระบบ ERP, ERP software