Translate

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

     2.งบประมาณการเงิน (Financial budgets) เป็นการวางแผนงบประมาณด้านการเงิน การลงทุนในสินทรัพย์ เพื่อจะได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน และเงินสด ประกอบด้วยงบประมาณต่างๆ

  • งบประมาณเงินสด (Cash budget)
  • งบประมาณรายจ่ายฝ่ายทุน (Capital expenditures budget)
  • งบประมาณงบดุล หรืองบดุลโดยประมาณ (Budgeted balance sheet)
  • งบประมาณงบกระแสเงินสด (Budgeted cash flow statement)

ระบบการจัดทำงบประมาณโดยใช้คอมพิวเตอร์

     ระบบการจัดทำงบประมาณโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computerized budgeting systems) หลายธุรกิจใช้การจัดทำงบประมาณด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การจัดทำงบประมาณด้วยวิธีนี้จะทำได้รวดเร็ว และสามารถลดต้นทุนในการจัดเตรียมงบประมาณได้ เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลจำนวนมาก นอกจากนี้การใช้คอมพิวเตอร์ยังมี
     ผู้จัดการมักจะใช้เอกสารคอมพิวเตอร์หรือโมเดลสถานการณ์จำลองแสดงการดำเนินงานและความสัมพันธ์ของงบประมาณ การใช้โมเดลสถานการณ์จำลองคอมพิวเตอร์ (Computer simulation models) จะทำให้ผู้บริหารสามารถประเมินทางเลือกการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งมีงบประมาณที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง ถ้าอัตราค่าแรงงานทางอ้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง เราจะสามารถปรับปรุงงบประมาณเพื่อดูผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
     วัตถุประสงค์ทั่วไปของการใช้ระบบการจัดทำงบประมาณโดยใช้คอมพิวเตอร์คือ เพื่อเชื่อมโยงทุกงบประมาณขององค์การเข้าด้วยกัน
   
 งบประมาณหลัก
     งบประมาณหลัก (Master budget) เป็นงบประมาณที่สรุปแผนงบประมาณของทุกหน่วยงานในองค์การธุรกิจ ซึ่งงบประมาณเหล่านั้นสามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้ในงบประมาณหลัก (Master budget) ประกอบด้วยงบประมาณ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
     1.งบประมาณการดำเนินงาน (Operating budgets) เป็นการวางแผนงบประมาณเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการในอนาคต งบประมาณการดำเนินงานเมื่อวางแผนครบทุกงบประมาณจะทำให้สามารถทราบถึงผลการดำเนินงาน ในอนาคตได้ งบประมาณประกอบด้วย ดังนี้

  • งบประมาณการขาย
  • งบประมาณต้นทุนขาย
  • งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร
  • งบประมาณงบกำไรขาดทุน หรืองบกำไรขาดทุนโดยประมาณ
   

ระบบการจัดทำงบประมาณ

     ระบบการจัดทำงบประมาณ (Budgeting systems) ระบบการจัดทำงบประมาณ อาจจะแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างองค์การ (Organizational structure) ความซับซ้อนในการดำเนินงาน (Comprexity of operations) รูปแบบธุรกิจ (Types of  businesses ) เช่น ธุรกิจการผลิต ธุรกิจการให้บริการ งบประมาณขั้นพื้นฐาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกองค์การและในธุรกิจในทุกรูปแบบ
     การจัดทำงบประมาณสามารถทำได้หลายวิธี
     1.งบประมาณต่อเนื่อง (Continuous budget) เป็นการจัดทำงบประมาณของปีการเงิน  ซึ่งมีระยะเวลาครบ 12 เดือน แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
     การพัฒนางบประมาณอย่างต่อเนื่อง ในการจัดทำงบประมาณจะอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการ และผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการฝ่ายการผลิต ผู้จัดการฝ่ายขาย และผู้จัดการฝ่ายวางแผนและพัฒนาเป็นต้น โดยงบประมาณที่จัดทำขึ้นนั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหาร
     2.งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-based budget) เป็นการจัดทำงบประมาณโดยไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลของงบประมาณปีใดเป็นปีฐาน แต่จะเริ่มจัดทำงบประมาณใหม่ทั้งหมด โดยผู้จัดการจะประมาณการยอดขาย การผลิตและข้อมูลการดำเนินงานอื่น ๆ โดยพิจารณาถึงความต้องการใช้ทรัพยากรในกิจกรรมนั้นๆ เป็นงบประมาณโครงการใหม่ เป็นต้น
     ข้อดีของงบประมาณฐานศูนย์ (Zero-based budget) คือ จะมีการวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณให้ตามความจำเป็น
    ข้อเสีย ทำได้ยากและใช้เวลามาก สำหรับการนำไปใช้ จะใช้ในหน่วยงานที่เน้นในเรื่องของการลดต้นทุน (Cost reduction) หรือเน้นในเรื่องการประเมินประสิทธิภาพ
     ตามปกติการจัดทำงบประมาณจะเริ่มจากการนำงบประมาณของปีที่ผ่านมา มาทำการปรับปรุงให้เป็นงบประมาณปีใหม่ งบประมาณที่ใช้แนวความคิดดังกล่าวมี 2 ประเภทคือ
     1.งบประมาณคงที่ (Static budget) เป็นงบประมาณที่จัดทำขึ้นโดยแสดงถึงศูนย์ความรับผิดชอบ (Responsibility center)  งบประมาณคงที่จงไม่สามรถนำไปปรับปรุงได้ จะมีข้อเสียคือ จำนวนค่าใช้จ่ายจริงแตกต่างจากงบประมาณที่จัดทำไว้
    2.งบประมาณยืดหยุ่น (Flexible budget) หรืองบประมาณผันแปร (Variable budget) การจัดทำงบประมาณยืดหยุ่นมีการประมาณการวางแผนงบประมาณหลายระดับการดำเนินงาน จงเป็นประโยชน์ในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายโรงงาน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้น โดยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับงบประมาณที่วางแผนไว้
   




วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การจัดทำงบประมาณ

    งบประมาณ (Budget) หมายถึง แผนการดำเนินงานเกี่ยวกับ การจัดหาและการใช้ทรัพยากรทางการเงิน และทรัพยากรอื่นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในการประมาณการทางการเงินหรือทรัพยากรอื่นนั้น จะต้องประมาณการอย่างมีระบบ  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคต
     โดยทั่วไปงบประมาณจะนำมาใช้เพื่อช่วยตัดสินใจในการสร้างกำไรให้ก้บธุรกิจ นอกจากนี้งบประมาณยังมีบทบาทสำคัญในการบริหารงานของกิจการอื่นด้วย เช่น โรงเรียน วัด โบสถ์ โรงพยาบาล สถานีตำรวจ หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร  ตลอดจนบุคคลและครอบครัวก็สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการบริหารทางการเงินของครอบครัวได้
     วัตถุประสงค์ของการจัดทำงบประมาณ (Objectives of budgeting) วัตถุประสงค์ของการจัดทำงบประมาณจะเกี่ยวข้องกับ
     1.การกำหนดเป้าหมายเฉพาะ
     2.การบริหารแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
     3.การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นระยะๆเป้าหมายเหล่านี้ประกอบด้วย เป้าหมายธุรกิจโดยรวมและเป้าหมายเฉพาะด้านสำหรับหน่วยธุรกิจในองค์การ  การกำหนดเป้าหมายเฉพาะด้านสำหรับการดำเนินงานในอนาคตเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่การวางแผน (Planning Function) ในการบริหารงาน ในขณะที่การบริหารงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายถือว่าเป็นหน้าที่ในการอำนวยการ (Directing Function) การเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นระยะๆ นั้นถือว่าเป็นหน้าที่ในการควบคุม (Controlling Function) ความสัมพันธ์ของหน้าที่เหล่านี้
     การวางแผน (Planning) เป็นกระบวนการพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการในอนาคต และวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ การวางแผนจะเป็นการกำหนดกิจกรรมการบริหารงานทั้งหมด ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์และแนวทางที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ การจัดทำงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนที่ทำให้องค์การนั้นบรรลุเป้าหมาย ซึ่งขั้นตอนของการกำหนดเป้าหมายจนกระทั่งออกมาเป็นงบประมาณนั้น

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การคิดต้นทุนฐานกิจกรรมสำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร

     การคิดต้นทุนฐานกิจกรรมสำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร (Activity-based costing for selling and administrative expenses) ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป [Generally Accepted Accounting Priciples (GAAP) ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารนั้นถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด (Period cost) ในงบกำไรขาดทุนที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอก แต่อย่างไรก็ตามนักบัญชีจะต้องมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารไปยังผลิตภัณฑ์ เพื่อการจัดทำรายงานความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์เสนอต่อผู้บริหาร วิธีดั้งเดิม (Traditional method) จะจัดสรรค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารของผลิตภัณฑ์โดยใช้เกณฑ์ยอดขายผลิตภัณฑ์ แต่ผลิตภัณฑ์นั้นอาจใช้กิจกรรมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับยอดขายก็ได้ ดังนั้นการจัดสรรค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารโดยวิธีต้นทุนฐานกิจกรรมจะมีความถูกต้องมากกว่า