Translate

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เคล็ดลับสู่ความมั่นคงทางการเงิน

          นอกจากจะวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังมีรายละเอียด
เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยพาคุณไปถึงเป้าหมายและก้าวไปสู่ “ความมั่นคงทาง
การเงิน” ได้เร็วขึ้น

• จัดสรรรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท                   
โดยดูว่าค่าใช้จ่ายจำ เป็น                                
ในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง จากนั้นแบ่ง
รายได้ออกเป็นส่วน ๆ ส่วนหนึ่งกันไว้
เพื่อเป็นเงินออมส่วนหนึ่งกันไว้สำหรับ                     
ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นหากรายรับไม่เพียงพอ
สำหรับการใช้จ่ายและเก็บออมเห็นที
คงต้องหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว
เสียแล้วว่าจะลดรายจ่ายหรือมีวิธีเพิ่ม
รายได้ตรงไหนได้บ้าง


    • จัดเก็บใบเสร็จ
 และจ่ายเงินให้ตรงกำหนด                                                               
 เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่ม
โดยไม่จำ เป็น โดยอาจจะจดไว้ที่ปฏิทิน
หรือบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือ ก็จะ
ช่วยให้เราไม่ลืมได    



• ออมเงินล่วงหน้าสำหรับรายจ่ายก้อนโต
หากรู้ล่วงหน้าว่าเดือนใดจะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เงินจำ นวนมาก เช่น
ค่าเล่าเรียนลูก ค่าซ่อมรถ ควรวางแผนเก็บเงินแต่เนิ่น ๆ

• บริหารเงินออมอย่างมืออาชีพ
การนำ เงินออมที่มีอยู่มาบริหารจัดการให้งอกเงย มีหลายวิธีเช่น
ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ ซื้อกองทุนรวมฯลฯ
ซึ่งแน่นอนว่าคุณต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจรูปแบบการออมนั้นให้ดีว่า
ผลตอบแทนที่ได้รับคุ้มกับความเสี่ยงที่มีหรือไม่ รวมทั้งติดตามข่าวสารภาวะ
เศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อการออมของคุณด้วย เช่น ในภาวะอัตรา
ดอกเบี้ยขาขึ้น อาจฝากประจำ ระยะสั้น ๆ หรือซื้อกองทุนรวม หรือพันธบัตร
ที่มีระยะเวลาครบกำหนดสั้น ๆ เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อนำ เงินไปฝาก
หรือลงทุนต่อเมื่อครบอายุ หรือถ้าเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้นน่าจะสูงสุด
แล้ว โดยหลังจากนี้อัตราดอกเบี้ยน่าจะต่ำ ลง อาจเลือกฝากประจำ ระยะยาว
กว่า 1 ปีเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงไปตลอดระยะเวลาการฝาก เป็นต้น   



 •บริหารหนี้อย่างชาญฉลาด
การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเสมอไปหากรู้จักบริหารจัดการ และก่อหนี้
ที่มีประโยชน์ สินเชื่อเป็นเครื่องมือสำ คัญที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน
ได้เร็วขึ้น เช่น กู้เพื่อซื้อบ้าน กู้เพื่อประกอบธุรกิจ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องประเมิน
ความสามารถในการชำระคืนของตนเองด้วย โดยมีหลักคร่าว ๆ คือภาระในการ
ชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้ทุกประเภทรวมกันในแต่ละเดือนไม่ควรเกิน
1 ใน3 ของรายได้ต่อเดือน


• หยุดวงจรหนี้
หากคุณมีหนี้สินเกินตัวเห็นทีต้องหยุดวงจรหนี้นั้นเสียโดยการรัดเข็มขัด
ประหยัดมากขึ้น และค่อย ๆ ทยอยผ่อนชำระจนหนี้นั้นหมด โดยเฉพาะหนี้ที่ต้อง
จ่ายดอกเบี้ยสูง เช่น หนี้บัตรเครดิต(อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี) หรือสินเชื่อ
ส่วนบุคคล(อัตราดอกเบี้ย28%ต่อปี)และไม่ควรก่อหนี้อื่นเพิ่มซึ่งหากคุณไม่แน่ใจ
ว่าจะสามารถชำ ระคืนหนี้สินนั้นได้หรือไม่ก็ควรหารือกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออก
ร่วมกัน มากกว่าจะคิดหนีหนี้


• เตรียมความพร้อมยามเกษียณ 
หลายคนอาจมองว่า อีกตั้งนานกว่าจะเกษียณ รอไปก่อนค่อยคิดก็ได้
แต่พอมานึกได้อีกทีก็เข้าวัยเกษียณเสียแล้ว ทั้งที่จริงยิ่งเราเตรียมการไว้ล่วงหน้า
เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำ ให้เรามีความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณมากขึ้นเท่านั้น


วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คุณวางแผนการเงินของคุณแล้วหรือยัง??

ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนปัญหาที่เรามักพบบ่อยคือเงินใช้เดือนชนเดือน รายจ่ายมีมากกว่ารายรับ สิ้นเดือนก็เหมือนสิ้นใจ เพราะคุณไม่เคยมีการวางแผนทางด้านการเงินที่ดีหรือคุณอาจมีการวางแผนแต่ก็ยังไม่ดีพอ ส่วนใหญ่แล้วมักมีเหตุผลดังนี้
-คิดว่าตัวเองมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายรายวันแล้ว
-ลืมคิดไปว่าตัวเองอาจมีมรสุมชีวิตในอนาคตก็ได้เช่น ว่างงาน  ประสบอุบัติเหตุ ฯลฯ
-ไม่มีเวลาจัดทำแผนการเงินของตัวเอง
-คิดว่าการวางแผนการเงินอาจจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง
-คิดว่าตัวเองมีฐานะทางด้านการเงินดีอยู่
-คิดว่าการวางแผนการเงินเหมาะสำหรับผู้ที่เกษียรอายุแล้วเท่านั้น
ดังนั้นแล้ว คุณควรจะวางแผนการเงินของตัวคุณเองให้เหมาะสม เพื่อจัดสรรเงินที่มีอยู่ให้เพียงพอและเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายในชีวิตคุณ โดยคำนึงถึงช่วงอายุและรายได้ เป็นสำคัญ
ช่วงอายุ ( Life Cycle) 
ช่วงอายุของคนเรามีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย เหมือนวัฐจักรชีวิต เริ่มจากวัยเด็กที่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้ใหญ่พอเริ่มโตก็ต้องศึกษาเล่าเรียน เพื่อหางาน สร้างเงิน และสร้างตัว ซึ่งเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับการเงิน และปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่พบคือ รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายจึงไม่สามารถเก็บออมเงินเพื่ออนาคตได้ปัจจัยสำคัญประการแรกที่คุณควรพิจารณาในการวางแผนการเงิน ผู้ที่มีอายุน้อยและมีรายได้อยู่ในช่วงเริ่มสะสมทรัพย์ มักจะนิยมออมเงินเพื่อมาซื้อทรัพย์สินเช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน ทำให้เงินออมส่วนใหญ่มักจะจมไปกับการผ่อนหนี้ที่มัดตัวจนไม่สามารถนำไปลงทุนให้เงินงอกเงยได้ ดังนั้น คุณควรจะวางแผนว่ามีความ จำเป็นที่จะใช้สินทรัพย์ใดบ้าง ในช่วงอายุใดที่เหมาะสมจะซื้อ และต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ได้มา เมื่อทำงานได้จนสามารถสะสมทรัพย์สินตามที่ต้องการแล้ว คุณควรจะเริ่มลงทุนในสิ่งที่มั่นคงถาวรขึ้น เพื่อเป็นเงินออมสำหรับใช้เมื่อเกษียรอายุโดยมีจุดประสงค์ที่จะเป็นอิสระทางการเงินเป็นสำคัญ

ช่วงอายุของผู้ลงทุนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
1ช่วงอายุเริ่มทำงานและเริ่มสะสมทรัพย์ เป็นช่วงที่มีรายได้น้อย แต่สม่ำเสมอ โดยปกติแล้วรายได้ก็มักจะเพิ่มขึ้นตามความสามารถและความรับผิดชอบที่สูงขึ้น และการพัฒนาความรู้ของงานนั้นๆๆ
2ช่วงอายุที่ชีวิตมีรายได้มากกว่ารายจ่าย  เป็นช่วงที่มีระดับความสามารถหารายได้ได้สูงสุด เนื่องจากมีหน้าที่การงานที่มั่นคงและหนี้สินที่ลดลง และทำให้มีเงินสำหรับเอาไว้ลงทุนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคุณคุณจะเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในช่วงที่เกษียรอายุด้วย
3 ช่วงอายุ ที่คุณเกษียรอายุการทำงาน  เป็นช่วงที่คุณมีโอกาสหารายได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะใช้เงินที่สะสมและที่ลงทุนไว้ เงินบำนาญเงินออมเกษียณอายุเพื่อการใช้ดำรงชีวิต ส่วนใหญ่มักจะเป็นช่วงที่คุณมีอิสระทางด้านดารเงิน
4 ช่วงอายุ ช่วงปลายของชีวิต มีทรัพย์สินมากเกินกว่าจะใช้หมด จึงมีเหลือเผื่อแผ่เจือจุนให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะหมดไปกับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง 

รายได้ที่ได้รับ ( Income)
เมื่อมีรายได้เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้จากเงินประจำเดือน จากธุรกิจส่วนตัว เงินจากมรดก หรืออื่น ๆ คุณควรจัดสรรเงินก้อนแรกไว้สำหรับค่าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของตัวคุณและครอบครัว เช่น 
เงินค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ   เป็นต้น หลังจากที่เตรียมการขั้นพื้นฐานสำหรับชีวิตไว้เรียบร้อยแล้ว คุณควรจะตระหนักถึงค่าใช้จ่ายสำคัญที่คุณควรจัดเตรียมไว้ก่อนเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อคุณจะได้ไม่มีความกังวลใจและเครียดกับผลของการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย
 เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เงินสำรองนี้ควรเก็บไว้ในรูปแบบที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด และสามารถเบิกใช้ได้ทันทีที่ต้องการ เช่น การฝากในรูปบัญชีออมทรัพย์
 - ภาระหนี้สิน    ถือเป็นหน้าที่ของคุณตามกฎหมายที่ต้องรับผิดชอบ เพราะหากคุณไม่จ่ายตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินในครอบครองหรืออาจฟ้องล้มละลายได้ 
- เงินสำหรับแผนการในอนาคต หากคุณมีแผนการที่ชัด-เจนเหล่านี้อยู่ในใจ ก็ควรจะวางแผนเก็บเงินเพื่อแผนการนั้น โดยคำนวณจากเงินที่มีในปัจจุบันและรายได้ในอนาคต
- เงินประกัน คุณอาจจะจัดทำประกันชีวิต หรือประกันอื่น ๆ ทั้งแก่ตัวคุณเองและสมาชิกในครอบครัวให้ ในกรณีที่คุณไม่อยากเสี่ยงกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คุณสามารถวางแผนการเงินโดยจัดทำประมาณการกระแสเงินสดอย่างง่าย ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รวมรายได้ที่ได้รับทั้งหมด
               ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนของตัวเอง คู่สมรส เงินโบนัส เงินปันผล ดอกเบี้ย รายได้ต่างๆไม่ว่าจะมาจากทางไหน เอามารวมกันแล้วตั้งเอาไว้ 
ขั้นตอนที่ 2 หักค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรกสำหรับดำรงชีพ
               รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหารซื้อเสื้อผ้า ค่ารถไปทำงาน ค่าดูหนังฟังเพลง
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจดูเงินสำรองฉุกเฉินว่ามีเพียงพอหรือไม่
               คราวนี้ก็มาสำรวจว่าตัวเรามีเงินสำรองที่ต้องเก็บอะไรบ้างไม่ว่าจะฝากออมทรัพย์ไว้ หรือเงินลงทุนระยะสั้นอื่นๆที่คุณไปลงทุนไว้ รวมทั้งหมดว่ามีเท่าไหร่
ขั้นตอนที่ 4 จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น (ถ้ามี)
               อันนี้สำคัญเลยหนี้สินที่มีอยู่ตอนนี้มีอะไรบ้างมีอยู่เท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต เงินกู้ระยะสั้น ระยะยาว นำมารวมว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่
ขั้นตอนที่ 5 หักเงินสำหรับแผนการในอนาคต
               ค่าใช้จ่ายอนาคต ที่คุณคาดว่าจะต้องใช้ ไม่ว่าจะดาวน์บ้าน ซ่อมแซมบ้านครั้งใหญ่ ทุนการศึกษาลูกๆ หรือแผนเกษียน
ขั้นตอนที่ 6 หักเงินค่าเบี้ยประกันเพื่อความมั่นคงในชีวิต (ถ้ามี)
               อย่างเช่นเงินค่าประกันชีวิต ค่าประกันรถยนต์ รวมว่าทั้งหมดมีเท่าไหร่

ขั้นตอนที่ 7 คำนวณหาเงินเก็บเงินลงทุนที่คุณมี
               - รายได้รวม 
               - หักค่าใช้จ่ายประจำ 
               - หักเงินสำรองรวม 
               - หักหนี้สินรวม

               - หักค่าใช้จ่ายอนาคต 
               - หักเงินประกันรวม





เงินเก็บและเงินลงทุน สรุปแล้วคุณมีเงินที่จะเก็บหรือจะนำไปลงทุนเท่าไหร่หลังจากคำนวณตามรายการข้างต้นแล้ว แล้วคุณจะได้คำตอบว่าถึงเวลาที่คุณจะวางแผนทางการเงินในชีวิตจริงของคุญแล้วรึยัง



ERP, ซอฟแวร์ ERP, ระบบ ERP, ERP software

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บัญชีครัวเรือนสู่การออม

การออมคืออะไร?
        การออม มีความหมายกว้าง  การออมคือ การใช้สิ่งมีค่ามีคุณทั้งหลายอย่างระมัดระวัง อย่างไม่ประมาท มีเหตุมีผล ทั้งในตนและนอกตน คือ ตนเอง ชีวิตของตนเองซึ่ง แต่ละคนจะต้องถือว่า มีความหมายสูงสุด สำคัญสูงสุด จึงต้องรู้จักตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต ไม่ปล่อยปละละเลยให้ ตกต่ำให้ไร้ค่า พยายามรักษาและพัฒนาให้เจริญให้ได้ ในขณะเดียวกัน ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพ ก็ต้องให้ความสำคัญ ต้องรู้จักเก็บรู้จักใช้ ไม่ปล่อยปละละเลย
 จะเห็นได้ว่า การออมมิได้มุ่งที่ออมเงินอย่างเดียว แต่หมายถึง การออมชีวิตตนเอง และปัจจัยในการดำรงชีพทุกอย่างด้วย

      การออม ในเบื้องต้น เป็นเรื่องของคน คือ จุดเริ่มต้นจะเกิดที่คน การออมจะเกิดได้ก็เพราะคนได้รับการศึกษาเรียนรู้ มีครู คือ พ่อแม่ เป็นต้น เป็นผู้แนะนำสั่งสอน ให้ความสำคัญ ความจำเป็น และผลหรือคุณประโยชน์ที่เกิดจากการออม เมื่อโตขึ้นก็คิดได้เอง ทำได้เอง และสอนผู้อื่นต่อไป  ปัจจุบัน เรารู้จักการออมกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการออมเงิน ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน มีการส่งเสริมการออมกันอย่างคึกคัก การออมเป็นเรื่องสำคัญและะมีประโยชน์มากต่อการดำรงชีวิตของเรา และการพัฒนาชีวิตของเรา

การออมให้คุณประโยชน์แก่เราอย่างไรบ้าง?

แยกเป็นเรื่องๆได้ดังนี้
       
   
1. ด้านเศรษฐกิจ คือ เป็นกิจที่ช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่และเปิดโอกาสให้คนได้พัฒนาชีวิตคนให้เจริญ ให้สูงขึ้นได้ การประกอบอาชีพ เช่น การปลูกพืชผัก เพื่อบริโภค เพื่อแจกจ่ายแก่เพื่อนบ้าน หรือเพื่อจำหน่ายให้ได้เงินมา เพื่อนำไปแลกกับปัจจัยด้านอื่น เช่น ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ เป็นต้น เรียกว่า เป็นเรื่องกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ คือ เรื่องการผลิต การแจกจ่าย และการบริโภค เงินเป็นตัวกลางของการแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายปัจจัยทั้งหลาย จึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีพสูงมาก โดยเฉพาะปัจจุบัน การจะมีเงินได้ก็เป็นเรื่องยาก ดังนั้น เมื่อได้มาก็ต้องรู้จักประหยัดรู้จักออม เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของปัจจัยในการดำรงชีพต่อไป

2. ด้านสังคม ในกระบวนการออม ถ้ารวมกลุ่มการออมตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ถึงจังหวัด ที่ปฏิบัติกันอยู่ขณะนี้ เห็นได้ชัดว่า มีผลดีด้านสังคม คือ เป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ให้คนคิดถึงกัน เอื้ออาทรต่อกัน หรือรักกันมากขึ้น อย่างกรณีการออมสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เป็นเครื่องมือให้คนที่เป็นสมาชิกคิด เอื้ออาทรต่อเพื่อนสมาชิก ต่อผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการช่วยตัวเองไม่ได้ และได้มีส่วนช่วยเพื่อนตั้งแต่วันลืมตามาดูโลกจนถึงวันตาย ถ้าได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังก็จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว และชุมชนได้ทางหนึ่ง

3.ด้านวัฒนธรรม กิจกรรมที่คนส่วนใหญ่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย มีสาระทั้งที่เป็นความรู้ ความคิด การปฏิบัติที่มีแบบแผนแน่นอน และทำอย่างต่อเนื่อง และให้ผลเป็นความดีแก่ผู้ปฏิบัติ เราจัดว่าเป็นวัฒนธรรม พฤติกรรมการออม กิจกรรมการออม ผลการออมมีลักษณะเช่นว่านี้ จึงจัดว่าเป็นวัฒนธรรมสำคัญของชุมชนได้อย่างหนึ่ง ถ้าได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังตลอดไป เพราะเนื้อในของการออม นั้นมีองค์ประกอบของความเป็นวัฒนธรรมครบถ้วน คือ มีทั้งองค์ความรู้ วิธีปฏิบัติ และผลการปฏิบัติที่ชัดเจน ให้ประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติดีได้ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกาย ด้านสังคม ด้านใจ และด้านจิตวิญญาณ

4. ด้านการศึกษา ภาพรวมทางกระบวนการการออมเป็นเรื่องของการเรียนรู้ การฝึกตนเอง ผู้ทำการออม หรือเป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อออมเพราะต้องรู้หลักคิด หลักการและหลักปฏิบัติ ตลอดถึงผลลัพธ์ที่พึงได้พึงมี การที่ทุกคนเดินเข้าสู่กระบวนการนี้ได้ชื่อว่า เดินเข้าสู่กระบวนการทางการศึกษา เพื่อพัฒนาตนเอง ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ อย่างตั้งใจจะเรียนรู้ก็จะได้รับประโยชน์ส่วนนี้อย่างครบถ้วน โดยไม่รู้ตัว และจะพบว่าตนเองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านการรู้ การคิด การพูด และการทำ

5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า เขา สัตว์ พืชที่เราได้เห็น อยู่รอบ ๆ ตัวเรา บ้านเรา ชุมชนเรา คือ ชีวิตเรา เพราะว่า เราต้องอาศัยดิน น้ำ ป่า เขา พืช สัตว์เหล่านั้น จึงมีชีวิตอยู่ได้  น้ำแห้ง ฝนแล้ง ป่าถูกเผา ภูเขาพัง สัตว์ล้มตายด้วยโรคบางชนิด ภาวะเช่นนี้ คือ สัญญาณเตือนภัยอันใหญ่หลวง ได้เกิดขึ้นแก่มนุษย์แล้ว เพราะเราเป็น อยู่ได้ พัฒนาได้ ก็โดยอาศัยสิ่งเหล่านี้ การพูดถึงการออมทรัพย์สินหรือทรัพยากรธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งเท่ากับออมชีวิต เงินทองจะมีความหมายก็เมื่อมีสิ่งนี้ เมื่อไม่มีสิ่งนี้ เงินทองก็หมดความหมาย กลายเป็นเศษกระดาษ เศษโลหะที่กินไม่ได้ ช่วยชีวิตมนุษย์ไม่ได้เลย การใช้เงินเพื่อจัดการทรัพยากรให้คงอยู่ในภาวะปกติ จึงเป็นเรื่องต้องคิดต้องทำ

6. ด้านการพัฒนาชีวิต การออมเป็นเรื่องการรู้ การคิด และ การทำ การออมที่เริ่มด้วยการเรียนรู้เรื่องสัจจะ คือ ความจริงที่รู้ ที่คิด ที่พูด ที่ทำ ของตนเอง ว่าจะต้องพูดจริง ทำจริง คิดจริง และรู้จริงนั้น นับเป็นการเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเอง รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างคนกับผู้คนในครอบครัว ในชุมชน เป็นต้น โดยเฉพาะคนในครอบครัว มีภรรยา หรือสามี และลูก ๆ รวมปู่ยาตายาย ถ้าคนในครอบครัวรู้จักสัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง จริงใจ จริงวาจา จริงการทำต่อกัน รู้จักข่มใจในบางโอกาสบางกรณี รู้จักอดทนอดกลั้น รู้จักสละสิ่งของให้แก่กัน และรู้จักสลัดอารมณ์มัวหมอง เป็นตน ก็มีคุณต่อชีวิตของคนในครอบครัว อย่างมากมายแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าได้ศึกษาให้ลึกลงไปในสัจจะของชีวิตทั้งที่ตนเอง ผู้อื่น สิ่งอื่น รอบ ๆ ตัวอีกด้วยแล้ว ก็จะยังเพิ่มคุณประโยชน์ให้อีกมากมาย จนถึงขั้นเข้าใจสัจธรรม ทั้งที่ตนเองผู้อื่น และสิ่งอื่น ก็ถือว่า ถึงขั้นสุดยอด ของการพัฒนาชีวิตแล้ว
จะเห็นได้ว่า คุณประโยชน์ของการออมนั้นมีมากมาย จริง ๆ ถึงเวลาหรือยังที่เราจะศึกษาเรียนรู้ และฝึกฝนเรื่องการออมกันอย่างจริงจักและกว้างขวางมากขึ้น ทั้งออมชีวิต ออมสิ่งของเงินทอง และทรัพยากรธรรมชาติ
            การออมกับบัญชีครัวเรือน
การทำบัญชี เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ การศึกษา การฝึกตน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติพัฒนาความรู้ ความคิด และการปฏิบัติที่ถูกต้อง ก่อความเจริญทั้งในด้านอาชีพหรือเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นต้นได้

การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของเรา ในครอบครัวของเรา ชุมชนของเรา และประเทศของเรา
การบันทึก คือ การเขียน เมื่อมีการเขียนก็มีการคิด เมื่อมีการคิดก็ก่อปัญญา เมื่อเกิดปัญญา เราก็มองเห็นเหตุเห็นผล เมื่อเห็นเหตุเห็นผล เราก็จะคิดจะทำให้ถูกตามเหตุตามผล เมื่อทำ พูด คิด ได้ถูกเหตุถูกผล นั่นคือ ทางเจริญของเรา
                    การทำบัญชีครัวเรือนในด้านเศรษฐกิจ หรือการบันทึกรายรับรายจ่ายที่ทางราชการพยายามส่งเสริมให้เราได้ทำกัน นั่น เป็นเรื่องการบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันประจำเดือนว่า เรามีรายรับจากอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด มีรายจ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ในแต่ละวัน สัปดาห์ เดือน และ ปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า เรารับเท่าใด จ่ายเท่าใด เหลือเท่าใด หรือเกิน คือ จ่ายเกินรับเท่าใด รายการใดจ่ายน้อยจ่ายมาก จำเป็นน้อยจำเป็นมาก จำเป็นน้อย อาจลดลง จ่ายเฉพาะที่จำเป็นมาก เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน การศึกษา เป็นต้น เท่าใด ซื้อบุหรี่ ซื้อเหล้า เข้าบาร์ บ้าหวย เป็นต้น จำนวนเท่าใด เมื่อนำมาบวกลบคุณหารกันแล้วขาดดุลเกินดุลไปเท่าใด เมื่อเห็นตัวเลข เราก็อาจคิดได้ว่าไอ้สิ่งไม่จำเป็นนั้นมันก็จ่ายเยอะ ลดมันได้ไหม เลิกมันได้ไหม ถ้าไม่ลดไม่เลิกมันจะเกิดอะไร กับเรากับครอบครัวเรา กับประเทศเรา ถ้าคิดได้ ก็เท่ากับว่า รู้จักความเป็นคนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนมีเหตุมีผล เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็นคนรักตนเอง รักครอบครัว


วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บัญชีครัวเรือนเรื่องง่ายที่หลายคนอาจมองข้าม



            บางท่านคงเคยได้เห็นได้ยินโฆษณาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  หัวข้อ "จดแล้วไม่จน"ทีรณรงค์ให้ประชาชนจดบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน หรือ "คู่มือพอเพียงตามแนวพระราชดำริ"ของศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมกรุงเทพมหานคร  หรืออีกหนึ่งโฆษณา "จดแล้วรวย"ของศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินครอบครัว และยังมีอีกหลายหน่วยงานที่รณรงค์ให้พนักงานในหน่วยงาของตน เห็นความสำคัญของการ จด การบันทึก เรื่องเงินๆทองๆๆ
           หลายคนที่ไม่เคยจดหรือบันทึกอาจมีข้อข้องใจว่า จดแล้วจะไม่จนจริงหรือ?, จดแล้วจะรวยขึ้นจริงหรือเปล่า?, จดและบันทึกช่วยเราได้อย่างไร?, เราจะเสียเวลาไปกับการจดการบันทึก เปล่าๆหรือไม่? ,จดไปจดมาจะคุ้มไหมเนี้ย?, เราจะจดไปเพื่ออะไรกันเนี้ย, จริงๆแล้วการจดหรือการบันทึกข้อมูลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจดบันทึก บัญชีรายรับรายจ่าย ยังสร้างประโยชน์ต่อตัวเองและครอบครัวอีกด้วย ใครไม่เชื่อก็ลองพิสูจน์ด้วยตัวเองดูค่ะ


ความสำคัญของการจด บันทึกรายรับ รายจ่าย นั่นทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น ว่าในแต่ละวันในเวลา24ชั่วโมง เราทำกิจกรรมอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่กิจกรรมที่เราทำก็มักจะเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเพื่อหาเงิน หรือการใช้เงินเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง ลองคิดดูเล่นๆว่า ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเวลาเข้านอน  กิจกรรมที่เราทำมีอะไร รายได้และค่าใช้จ่ายที่ขึ้นมีอะไรบ้าง เพียงเท่านี้หลายคนก็คงจะมองเห็นภาพกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับเงินในกระเป๋าของเราทั้งสิ้น แล้วเราจะจำเหตุการที่เกิดขึ้นได้หมดไหม  หลายคนอาจคิดว่าไม่เห็นจำเป็นต้องจดหรือบันทึกเลย แค่จำๆ ไว้แบบคร่าวๆก็น่าจะพอแล้ว
     
             ที่จริงแล้ว การจดบันทึก รายรับ-รายจ่าย  ทุกๆสิ้นวันจะทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้นเพราะ รายรับรายจ่าย ที่เกิดขึ้นจะเป็นข้อมูลที่สะท้อนพฤติกรรมของเราได้อย่างชัดเจนที่สุด  ข้อมูลจากการจดบันทึกจะบอกเราว่าเงินที่เราหามาได้   ถูกใช้จ่ายไปทางไหนบ้าง   เงินส่วนใหญ่จ่ายไปเพื่ออะไร  บางคนอาจพบว่าเงินส่วนใหญ่หมดไปกับค่าเดินทาง  เพราะนอนตื่นสาย   จึงต้องเรียกแท็กซี่     หรือขับรถขึ้นทางด่วนเป็นประจำ   แต่พอเห็นตัวเลขค่าแท็กซี่  และ  ค่าทางด่วน ต่อเดือนแล้ว  คุณอาจจะตื่นนอนโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกเลยก็ได้   บางคนอาจจะพบว่า   เงินส่วนใหญ่หมดไปกับค่าอาหาร   แล้วคุณก็จะเข้าใจได้ว่าน้ำหนักที่ขึ้นเอา  ขึ้นเอา    นั้นมาจากการที่คุณใช้เวลาว่างไปกับการหาอาหารอร่อยๆทาน   เมื่อคุณรวมตัวเลขในแต่ละเดือนแล้ว   คุณอาจจะตกใจ  เมื่อเห็นว่าเงินส่วนใหญ่ใช้ไปกับ กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งมากเกินไป  หรือ  ใช้กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งน้อยเกินไป   รวมทั้งพบว่าบางอย่างที่เราไม่เคยสนใจ หรือไม่เคยใส่ใจ ทำไมเราใช้เงินเยอะจัง  รับรองได้เลยว่า เมื่อคุณรู้จักตัวเอง  เมือ่คุณเห็นพฤติกรรมต่างของตัวเองแล้ว การปรับเปลี่ยพฤติกรรมจะเกิดขึ้นแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือเลิกกิจกรรมที่สร้างความฟุ่มเฟื่อยทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้น การเริ่มต้นที่ดีก็คือ การจดบันทึก ค่าใช้จ่ายประจำวัน ทุกวัน ซึ่งการจดบันทึกอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการตรวจสอบพฤติกรรมของตัวเราเองอย่างสม่ำเสมอ  เมื่อพบข้อบกพร่อง   เริ่มจะออกนอกลู่นอกทาง   ก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันเวลา
สิ่งสำคัญที่ตามมาก็คือ การมีวินัยและพัฒนาการทางด้านการเงินจะดีข้น เพราะบันทึกทางการเงินที่บกพร่องในอดีต  ย่อมทำให้เราปรับปรุงและแก้ไขปัจจุบันและวางแผนอนาคตให้ดีขึ้น
            การทำบัญชี ในแต่ละวันใช้เวลา เพียงแค่ 5-10นาทีต่อวันเท่านั้นแต่ประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากมายทั้งนี้อาจจะทำให้คุณมีเงินออมเพิ่มมากขึ้นและหนี้สินลดน้อยลง  ลองทำกันกันดูนะ ค่ะ


 
   
               
       
           



วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีการทำบัญชีครัวเรือน และประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน




วิธีการทำก็ง่ายๆ ไม่มีอะไรค่ะ แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้ ว่า รายรับ รายจ่ายของเราว่าส่วนใหญ่แล้วมา   จากอะไรบ้าง 
รายรับหรือรายได้ที่ได้มา เช่น เงินเดือน ค่าสอนพิเศษ ค่านายหน้า  เงินค่าขายสินค้าและบริการ
รายจ่ายหรือค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายเงินออกไป  เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก  ค่าอาหาร  ค่าขนม
ค่าประกันชีวิต ค่ากองทุน ค่าไปโรงเรียนลูก เป็นต้น 
หนี้สิน คือ ภาระผูกพันที่ต้องใช้คืนในอนาคต อาจชดใช้เป็นเงินหรือของมีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองมีอยู่หนี้สินเป็นเงินหรือสิ่งของมีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองได้มาจากบุคคลอื่นหรือแหล่งเงินภายนอกเช่น เงินกู้ยืมจากเพื่อน กู้ยืมจากธนาคาร  การเช่าซื้อสินค้า เงินกู้ยืมซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
เงินคงเหลือ  คือ หลังจากหักรายรับ รายจ่ายแล้ว ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย แสดงว่าเป็นเงินคงเหลือหรือหลักทางการบัญชีเรียกว่า กำไร 
       ขั้นตอนในการทำ
  • จดบันทึกทุกรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวันว่ามีรายรับ รายจ่ายที่ใช้ไปมีอะไรบ้าง
  • สรุปค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน และทุกสิ้นเดือน สรุปรายรับที่เราได้มาและรายจ่ายที่เราจ่ายไปแล้วนำยอดรวมรายรับทั้งหมดของเดือนและยอดรวมรายจ่ายทั้งหมดของเดือนมาเปรียบเทียบดูเพียงแค่นี้ก็จะทำให้เรารู้ยอดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนและเงินคงเหลือในแต่ละเดือนแล้วค่ะ
ตัวอย่าง



ประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน

  • ทำให้ตนเองและครอบครัวรู้ว่ารายรับ ร่ายจ่ายและยอดเงินคงเหลือในแต่ละวัน
  • นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินของตนเองและครอบครัวมาวิเคราะห์เและจัดเรียงความสำคัญของรายจ่ายและวางแผนการใช้เงินให้เหมาะสม
  • ทำให้ตนเองและครอบครัวมีการบริหารจัดการด้านการเงินที่ดี
  • มีเหตุมีผลในการตัดสินใจใช้จ่าย  การใช่จ่ายเงินอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง


เห็นไหมค่ะ เพียงแค่คุณ จดบันทึกรายละเอียดของการใช้เงินของคุณในแต่ละวัน มันก็ทำให้เรารู้ว่าที่มาของรายรับและรายจ่ายที่จ่ายออกไปในแต่ละวัน  แล้วการบันทึกบัญชี ก็มีหลายแบบ บางคนอาจจะจดบันทึกลงในสมุด บางคนอาจบันทึกลงใน Excel  ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน
.